ตรวจสอบความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวด้วยภาพถ่ายดาวเทียม

Last updated: 13 มิ.ย. 2566  |  1054 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตรวจสอบความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวด้วยภาพถ่ายดาวเทียม

ข่าวช็อกโลกในช่วงที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้น ข่าวแผ่นดินไหว ประเทศตุรกี (Turkey) และซีเรีย (Syria) ที่รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 100 ปี ที่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ และยังมียอดผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน มีผู้บาดเจ็บ และผู้ไร้บ้านอีกนับไม่ถ้วนเลยล่ะครับ

โดยวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา (ภาพที่ 1) เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงแมกนิจูด 7.8 ที่เมืองใกล้เมือง คาฮรามันมาราช (Kahramanmaras), ตุรกี และวันเดียวกันนั้นก็เกินอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงที่แมกนิจูด 7.5 แถมยังมีอย่างน้อยอีก 3 ครั้ง ที่เป็นแผ่นดินไหวแมกนิจูด 6.0 ขึ้นไปอีกด้วย

คราวนี้เรามาดูกันครับ ว่าข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจ (Earth Observation Satellite) ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถเห็นอะไรได้บ้าง ??
เรานำภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง มาเปรียบเทียบก่อนเกิดแผ่นดินไหว (ภาพที่ 2)
ของเมืองคาฮรามันมาราช และภาพหลังการเกิดแผ่นดินไหว (ภาพที่ 3) กันครับ




ทีนี้เรามาลองซูมดูภาพที่ใกล้กับ Subat Stadium ซึ่งใช้เป็นสถานที่พักพิงฉุกเฉิน (Emergency shelters) ทั้งก่อนและหลังการเกิดแผ่นดินไหว (ภาพที่ 4 และ ภาพที่ 5)

จากนั้น ทีมงาน Earth Insights ก็ลองนำภาพมาวิเคราะห์ความรุนแรงของความเสียหายของตึกที่ถล่ม (ภาพที่ 6) เพื่อจะดูว่าพื้นที่ไหนบ้างที่เกิดความเสียหายมากหรือน้อยแตกต่างกัน

ส่วนภาพที่ 7 และภาพที่ 8 เราทดลองใช้ภาพจากดาวเทียม SAR (Synthetic-Aperture Radar) และนำมาวิเคราะห์ว่ามีตรงจุดไหนบ้างที่ตึกพังลงมา ซึ่งเราวิเคราะห์และแสดงผลเป็นไฮไลท์ในโซนสีเหลืองครับ



และในภาพที่ 9 และ ภาพที่ 10 เราสามารถนำมาใช้ประเมินสถานการณ์ จะเห็นได้ว่า ภายหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวแล้ว บนถนนทุกสายที่ใกล้กับพื้นที่เกิดเหตุ จะคับคั่งไปด้วยรถที่ติดหนาแน่นอยู่บนถนนเลยล่ะครับ


เรามักจะได้ยินว่า ประเทศตุรกีได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากการเกิดแผ่นดินไหว ก็เป็นเพราะว่าตุรกีคร่อมอยู่บนแนวรอยเลื่อนเปลือกโลกหลายแนว (ภาพที่ 11 และ ภาพที่ 12) รอยเลื่อน "แผ่นเปลือกโลกอานาโตเลียตะวันออก" และรอยเลื่อนใกล้เคียง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรกีครับ



ซึ่งการเกิดแผ่นดินไหวทุกครั้ง เกิดจากการเลื่อนของรอยเลื่อนแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ ยิ่งแรงสั่นสะเทือนมาก รอยเลื่อนแผ่นเปลือกโลกที่แยกออกยิ่งมีขนาดใหญ่
และการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ ภาพจากดาวเทียม Sentinel-1A ก็สามารถนำมาใช้วิเคราะห์การเคลื่อนของเปลือกโลกได้เช่นกัน (ภาพที่ 13) โดยการวัดการเคลื่อนของพื้นดินว่าขยับเข้าใกล้ หรือถอยห่างจากดาวเทียมที่เคลื่อนผ่านครับ



  เทคโนโลยี และภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงพวกนี้ มีประโยชน์มากในด้านการช่วยเหลือ ยิ่งความเสียหายกินบริเวณกว้าง เรายิ่งต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประเมิน เพื่อให้เข้าถึงพื้นที่ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งทุกวินาที มีค่าถึงชีวิตจริงๆ ครับ
  อย่างไรก็ตาม ทีมงาน Earth Insights ขอแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียจากภัยพิบัติ ที่เกิดขึ้นในตุรกีและซีเรีย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์จะคลี่คลายในเร็ววันครับ

ที่มาข้อมูล:
[1] BBC.com, รอยเลื่อนเปลือกโลกคืออะไร ทำไมทำให้แผ่นดินไหวตุรกีรุนแรงกว่าปกติ, 14 Feb,23
[2] BBC.com, ทำแผนที่รอยเลื่อนเปลือกโลกจากอวกาศ หลังเกิดแผ่นดินไหวในตุรกี, 14 Feb,23
[3] วิกิพีเดีย, รอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออก, 9 Feb 23

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้