CityWatch (การวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดิน และ การวิเคราะห์การทรุดตัวของดิน)
โดยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง (High Resolution Satellite Imagery) ร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence and Machine Learning) นำมาประมวลผล วิเคราะห์จำแนกสิ่งปลูกสร้าง ของการใช้พื้นที่ต่าง ๆ จะทำให้การจำแนกการใช้ประโยชน์ของที่ดินทำได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าการลงพื้นที่สำรวจขนาดใหญ่ รวมไปถึงการตรวจจับการทรุดตัวและการยกตัวของพื้นที่ดินในระดับมิลลิเมตร เพื่อช่วยระบุพื้นที่ที่มีความเสี่ยงซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน ผลการวิเคราะห์ยังสามารถนำไปใช้เพื่อการวางแผน บริหารจัดการผังเมืองสำหรับภาพรัฐ หรือวางแผนในเชิงธุรกิจสำหรับภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ระบบวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดิน
(Land Used Classification System)
ตัวอย่าง การวิเคราะห์เพื่อจำแนกประโยชน์ของการใช้ที่ดิน ด้วยภาพถ่ายดาวเทียม ความละเอียด 1.5 เมตร ณ บางกระเจ้า ทางตอนใต้ของกรุงเทพมหานคร ในปี 2561
การนำข้อมูลจากการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ของที่ดิน มาคำนวณหาค่าการเปลี่ยนแปลงเพื่อการวางแผน บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง การวิเคราะห์เพื่อจำแนกประโยชน์ของการใช้ที่ดิน ด้วยความละเอียด 1.5 เมตร ณ บางกระเจ้า โดยเปรียบเทียบข้อมูล ของ ปี 2561 และ ปี 2564
การวิเคราะห์ยานพาหนะ (Object Detection)
โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง (High Resolution Satellite Imagery) ร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence and Machine Learning) ที่มีความสามารถในการตรวจจับ จำแนกวัตถุแต่ละชิ้นในภาพถ่าย เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถไฟ เครื่องบิน เรือประเภทต่าง ๆ และ อื่น ๆ และยังสามารถบอกจำนวนของวัตถุ แต่ละชิ้นที่ตรวจจับได้ในแต่ละช่วงเวลาด้วย ผลการวิเคราะห์ยานพาหนะ สามารถนำไปใช้เพื่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ทั้งงานภาครัฐและภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
CityWatch ใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายเรดาร์จากดาวเทียม (Synthetic Aperture Radar - SAR) ร่วมกับการประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI Processing) เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของระดับพื้นดินในพื้นที่ที่กำหนดอย่างละเอียด ระบบนี้สามารถตรวจจับการทรุดตัวและการยกตัวของพื้นที่ดินในระดับมิลลิเมตร พร้อมนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟแนวโน้มและแผนที่แสดงอัตราการเปลี่ยนแปลงของแผ่นดิน การวิเคราะห์นี้ช่วยระบุพื้นที่ที่มีความเสี่ยงซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคารปลุกสร้าง และพื้นที่อุตสาหกรรมที่สำคัญ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการดูแลและปรับปรุงพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผลการวิเคราะห์สามารถนำไปใช้ในแผนบริหารจัดการทรัพยากรหรือป้องกันความเสียหายในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ