ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี

Last updated: 25 พ.ย. 2565  |  738 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี

เมื่อต้นเดือนสิงหาคมปีพ.ศ.2564 ที่ผ่านมา นอกจากข่าวโควิดที่สำคัญ แต่ก็มีอีกข่าวนึงครับที่น่าสนใจ คือปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกปี ซึ่งปีนี้เกิดไปเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 ที่ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ครับ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก มีการรายงานว่าปรากฎการณ์นี้เกิดจาก แพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton) ชนิด Noctiluca scintillans พบว่าในพื้นที่บางพระ มีความหนาแน่นมากที่สุด ตามด้วยหาดวอนนภา และเกาะลอย ศรีราชา ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดผลกระทบหลายอย่างเลยครับ เช่น
• สร้างความเสียหายต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งโดยเฉพาะปลาหน้าดินและสัตว์น้ำหน้าดินได้รับอันตรายถึงตายได้
• เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสัตว์น้ำที่ปนเปื้อนพิษ ในกรณีเกิดการเพิ่มปริมาณของแพลงก์ตอนพืชที่สร้าง ชีวพิษ
• ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการประมง กล่าวคือสัตว์น้ำที่จับได้ในบริเวณที่เกิดน้ำเปลี่ยนสีไม่ปลอดภัยต่อ ผู้บริโภค และส่งผลกระทบต่อการส่งออกสัตว์น้ำหากมีการปนเปื้อนเกินระดับมาตรฐาน
• ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว เนื่องจากเมื่อแพลงก์ตอนตายแล้วถูกพัดเข้าฝั่งจะมีกลิ่นคาว สีและกลิ่น ทำให้ทัศนียภาพชายหาดเสื่อมโทรม และนักท่องเที่ยวที่ลงเล่นน้ำอาจเกิดอาการคันและระคายเคือง
งานนี้ทีมงาน Earth Insights (EI) ก็ได้เจาะลึกโดยใช้ดาวเทียม Sentinel-2 ติดตามการเจริญเติบโตของสาหร่ายอย่างใกล้ชิด โดยการใช้ค่า Normalized Difference Chlorophyll Index (NDCI) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ประเมินปริมาณคลอโรฟิลล์ในพืช (chl- a) ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้สามารถมองเห็น...
1. การเติบโตของสาหร่ายหรือแพลงก์ตอน ในบริเวณน่านน้ำหรือชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลได้
2. สามารถคาดการณ์ปริมาณสาหร่าย (ความเข้มข้นเชิงพื้นที่) ได้ โดยนำไปคำนวนความสัมพันธ์จากค่าตรวจวัดจากภาคพื้นดิน ผลแล็บ และค่าดัชนี NDCI
จากการติดตามค่า NDCI วันที่ 30 กรกฎาคม เราพบว่าบริเวณชายฝั่ง มีค่า NDCI ความเข้มข้นสูง แปลว่ามีแพลงก์ตอนพืชมาก ซึ่งกินพื้นที่กว้างประมาณ 300 เมตรจากชายฝั่ง และยาวประมาณ 10 กิโลเมตรจาก หาดบางแสนจนถึงบางพระ เลยทีเดียว (รูป A) 

ไม่ใช่แค่ชายฝั่งนะครับ เรายังพบแพลงก์ตอนพืชในปริมาณมาก ที่บริเวณน่านน้ำทะเล ห่างจากชาดฝั่งหาดบางแสน ประมาณ 3-4 กิโลเมตร อีกด้วย (รูป B ) 

เราลองดูภาพเปรียบเทียบก็ได้ครับ วันที่ 5 กรกฎาคม พื้นที่หาดบางแสนและบริเวณใกล้เคียง ยังไม่มีปริมาณสาหร่ายหรือแพลงก์ตอนมากนัก เราพบแค่เล็กน้อยในพื้นที่ใกล้เกาะสีชัง (รูป C) 

เห็นไหมครับว่าเทคโนโลยีดาวเทียม และการวิเคราะห์ข้อมูลมีประโยชน์จริงๆ ทำให้เราสามารถคาดการณ์ ประเมินผล และตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที แหม่ ดีอย่างนี้ นำมาใช้กันเยอะๆ นะครับ

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้